โครงการสัมมนาทางวิชาการ
สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย
เรื่อง “ แนวทางปฏิบัติที่มีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง”
ระหว่างวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2565 ถึงวันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2565
ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ เลขที่ 199/42 ถนน ช้างคลาน
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
-----------------------------------------------
หลักการและเหตุผล
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวง และหนังสือเวียนต่าง ๆ ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง อาทิ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และคณะกรรมการตามระเบียบ ฯ จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและวิธีปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง และทำความเข้าใจในบริบทที่เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และข้ออุทธรณ์ร้องเรียนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียและเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปลอดภัยจากการถูกอุทธรณ์ร้องเรียน เป็นผลให้เกิดความล่าช้าและความเสียหายต่อหน่วยงานได้ บุคลากรดังกล่าวจักต้องปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามหลักการของกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างและสอดคล้องกับหลักการแห่งความคุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล มีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประกอบกับในสถานการณ์ปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยอนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 162 โดยกำหนดอัตราค่าปรับเป็นอัตราร้อยละ 0 และตามที่กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกำหนดพัสดุการจัดซื้อจัดจ้างที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 โดยได้รับทราบปัญหาและอุปสรรคจากการออกกฎกระทรวงฯ เช่น มีการสมยอมกันในการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอโดยเฉพาะงานก่อสร้างและการกำหนดหลักเกณฑ์มีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมซึ่งเป็นรายละเอียดค่อนข้างมากและยุ่งยากซับซ้อน ทำให้หน่วยงานยังไม่มีความเข้าใจและไม่สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ให้ถูกต้องได้และประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 อันมีผลกระทบต่อการจัดซื้อจัดจ้างเป็นอย่างมาก ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง อาทิ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และคณะกรรมการตามระเบียบ ฯ จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและวิธีปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง และทำความเข้าใจในบริบทที่เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และข้ออุทธรณ์ร้องเรียนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียและเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปลอดภัยจากการถูกอุทธรณ์ร้องเรียน เป็นผลให้เกิดความล่าช้าและความเสียหายต่อหน่วยงานได้