โครงการสัมมนาทางวิชาการความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย
เรื่อง “ การบริหารพัสดุและวิธีการจำหน่ายพัสดุ ”
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบออนไลน์ (Zoom)
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2567 ถึงวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2567
.....................................
หลักการและเหตุผล
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นหัวใจหลักของการจัดซื้อจัดจ้างได้แก่ การบริหารพัสดุ การควบคุม การจัดทำแผนการบำรุงรักษา การตรวจสอบพัสดุและการจำหน่ายพัสดุ ก็มีความจำเป็นและสำคัญไม่น้อยไปกว่าการจัดซื้อจัดจ้างที่เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องเรียนรู้ การบริหารพัสดุ คือ การบันทึก การแจกจ่าย ดูแล บำรุงรักษาพัสดุ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ดีอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังทำให้ทราบได้ว่าพัสดุใด ครุภัณฑ์ประเภทใด รายการใด หากยังต้องใช้ในหน่วยงานจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ให้มีความคุ้มค่า หรือหมดความจำเป็นที่จะใช้ในการปฏิบัติงาน เมื่อพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือหมดความจำเป็นแล้วต้องดำเนินการจำหน่ายด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การขาย แลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพหรือทำลายและการจำหน่ายพัสดุเป็นสูญ รวมถึงกระบวนการตรวจสอบพัสดุประจำปี การแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี กรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง คณะกรรมการประเมินราคาขั้นต่ำในการขายทอดตลาด คณะกรรมการขายทอดตลาด รวมทั้งแนวทางปฏิบัติที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องประสบปัญหาในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานด้านพัสดุที่มีหน้าที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุและวิธีปฏิบัติทางอิเล็กทรอนิกส์อันเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานด้านการพัสดุและเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทันต่อเวลา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องยังขาดความเข้าใจในการปฏิบัติงานในเรื่องนี้ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้บรรจุตำแหน่งพัสดุใหม่ รวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ยังขาดทักษะ ประสบการณ์ ในการปฏิบัติหน้าที่ อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นเพื่อให้หน่วยงานของรัฐมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน