โครงการสัมมนาทางวิชาการ
สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย
เรื่อง “การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การใช้งานระบบ e-GP” รุ่น 2
ระหว่าง วันอังคารที่ 18 ถึง วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2567
ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้อง ๔๐๖ ชั้น ๔
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เลขที่ ๕๐ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
------------------------------------------
หลักการและเหตุผล
ด้วยพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๕๗ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๙ ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e-GP) ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด ซึ่งในปัจจุบันกรมบัญชีกลางได้พัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP ) อยู่ในระยะที่ 5 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ e-GP ให้รองรับปริมาณการใช้งานที่มากขึ้น รองรับเทคโนโลยี cloud และการทำงานแบบ Micro Service ให้ระบบ e-GP มีความคล่องตัว ปลอดภัย รองรับขั้นตอนการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯ รวมทั้งกรมบัญชีกลาง ได้ออกแนวทางการปฏิบัติใหม่ ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e-GP) การปรับปรุงระบบและวิธีปฏิบัติในครั้งนี้ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเมนูการใช้งานและการทำงานใหม่หลายๆอย่าง โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่ค่อนข้างเข้าใจยาก อาทิเช่น การกำหนดเงื่อนไขในร่างขอบเขตของงาน TOR /การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุและการจัดเอกสารประกวดราคา และเทคนิคการพิจารณาผลตามหนังสือแนวทางปฏิบัติในการเร่งรัดการปฏิบัติงานตามสัญญาและการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ยื่นข้อเสนอและหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง และเทคนิคการตรวจสอบเอกสารประกาศเชิญชวน การบันทึกข้อมูลในระบบ e-GP โครงการที่เลือกประเภทการจ่ายเงินแบบตามความก้าวหน้าของงาน ในกรณีที่สร้างโครงการระยะเวลา 1 ปี มีการจ่ายค่างานอย่างไร การคำนวณค่าปรับในงานจ้าง เป็นต้น